สภาพทั่วไป |
|
|
|
ลักษณะที่ตั้ง
|
|
|
|
องค์การบริหารส่วนตำบลหันนางาม จัดตั้งเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 ตำบลหันนางาม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของที่ว่าการอำเภอศรีบุญเรือง ตามทางหลวงสายอำเภอศรีบุญเรือง-อำเภอนากลาง และตามทางหลวงสายอุดร-ชุมแพ สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลหันนางาม ตั้งอยู่ ณ ที่สาธารณะประโยชน์โปร่งแดง บ้านห้วยกวางทอง หมู่ที่ 3 ตำบลหันนางาม อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู และอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอศรีบุญเรืองประมาณ 3 กิโลเมตร ปัจจุบันมีหมู่บ้านที่อยู่ในความปกครองทั้งหมด 8 หมู่บ้าน มีลำน้ำมอ เป็นลำน้ำสายหลักไหลผ่าน มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้ |
|
อาณาเขตของตำบล |
|
|
|
ทิศเหนือ ติดกับตำบลกุดสะเทียน อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู ทิศใต้ ติดกับตำบลศรีบุญเรือง อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู ทิศตะวันออก ติดกับตำบลเมืองใหม่ อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู ทิศตะวันตก ติดกับตำบลยางหล่อและตำบลโนนสะอาด อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู |
|
เนื้อที่ |
|
|
|
ตำบลหันนางาม มีพื้นที่ทั้งหมด จำนวน 18,187.50 ไร่ หรือจำนวน 29.10 ตารางกิโลเมตร |
|
พื้นที่ป่า |
|
|
|
มีสภาพเป็นป่าไม้ผลัดใบเสื่อมโทรม หมู่บ้านอนุรักษ์ไว้เป็นป่าสาธารณะประโยชน์ เพื่อใช้ สอยของชุมชนเป็นพื้นที่เลี้ยงสัตว์แหล่งอาหารของชุมชน ดังนี้ ที่สาธารณะประโยชน์ป่าโสกหัวเสือมีพื้นที่ จำนวน 131 ไร่ 22 ตารางวา ที่สาธารณะประโยชน์โปร่งแดงมีพื้นที่ จำนวน 101 ไร่ 54 ตารางวา ที่สาธารณะประโยชน์โนนส้มกบพื้นที่ จำนวน 124 ไร่ 91 ตารางวา |
|
ลักษณะภูมิประเทศ |
|
|
|
ตำบลหันนางาม มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงและลักษณะเป็นที่ราบลุ่มบางส่วน ทางทิศตะวันออกมีน้ำมอไหลผ่าน และทางทิศตะวันตกมีลำน้ำห้วยกวางโตนไหลผ่านและมีแหล่งน้ำตื้นเขิน |
|
ลักษณะภูมิอากาศ |
|
|
|
ลักษณะภูมิอากาศในตำบลหันนางาม แบ่งออกเป็น 3 ฤดู เช่นเดียวกับตำบลอื่น ๆ ได้แก่ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปขึ้นอยู่กับมรสุมที่พัดผ่านประจำปี จัดอยู่ในประเภทอากาศแบบพื้นเมือง ร้อนเฉพาะฤดู กล่าวคือ จะมีฝนตกเฉพาะฤดูกาลสลับกับช่วงหน้าแล้ง ที่เห็นได้ชัดเจน |
|
|
แผนที่จังหวัดหนองบัวลำภู
|
|
แหล่งน้ำของตำบล
|
|
|
|
เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ คือ ลำน้ำมอ เป็นลำน้ำที่ขั้นระหว่าง ตำบลหันนางาม กับเทศบาลโนนสูงเปลือย และตำบลเมืองใหม่ เป็นแหล่งน้ำที่คดเคี้ยวไหลผ่านพื้นที่ บ้านเหล่าใหญ่ บ้านหันนางาม บ้านศรีประเสริฐ บ้านโปร่งแจ้ง บ้านโนนข่า บ้านนาดี และ บ้านสวนสวรรค์ สภาพน้ำใช้ได้ตลอดปี มีการกั้นฝายน้ำล้นเป็นช่วง ๆ ในฤดูแล้งไม่มีน้ำพอเพียงทำการเกษตร ถ้าฝนตกมากจะมีน้ำไหลหลากและเกิดภาวะน้ำท่วมตามลำน้ำ
- ห้วยกวางโทน มีต้นกำเนิดจากตำบลยางหล่อ ไหลผ่านบ้านเหล่าใหญ่และบ้านห้วยกวางทองมีความยาว 5 กิโลเมตร การใช้ประโยชน์เป็นน้ำอุปโภคและการเกษตร
- ลำห้วยยาง แยกจากลำน้ำมอ ไหลผ่านบ้านโปร่งแจ้ง และบ้านโนนข่า ระยะทาง 4 กิโลเมตร ไม่มีน้ำในฤดูแล้ง
|
|
ภัยธรรมชาติ |
|
|
|
ฝนแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงปลายเดือนกรกฎาคม ถึงต้นเดือนสิงหาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงที่เกษตรกรปักดำนาเสร็จแล้ว ทำให้ข้าวที่ปักดำเสียหายเป็นบางส่วน บางทีก็ไม่ได้ปกดำเลย น้ำท่วม ส่วนใหญ่เกิดบริเวณที่ลำน้ำมอไหลผ่านในพื้นที่ ทำให้พื้นที่นาข้าวได้รับความเสีย |
|
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น |
|
|
|
ฝายน้ำล้น จำนวน 7 แห่ง บ่อน้ำบาดาลมือโยก จำนวน 21 แห่ง สระน้ำสาธารณะ จำนวน 10 แห่ง |
|
จำนวนหมู่บ้าน |
|
|
|
จำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหันนางาม เต็มทั้งหมดหมู่บ้าน 8 หมู่บ้าน แยกได้ดังต่อไปนี้ หมู่ที่ 1 บ้านศรีประเสริฐ หมู่ที่ 2 บ้านโปร่งแจ้ง หมู่ที่ 3 บ้านห้วยกวางทอง หมู่ที่ 4 บ้านสวนสวรรค์ หมู่ที่ 5 บ้านนาดี หมู่ที่ 6 บ้านโนนข่า หมู่ที่ 7 บ้านหันนางาม หมู่ที่ 8 บ้านเหล่าใหญ่ |
|
ประชากร |
|
|
|
ประชากรรวมทั้งสิ้น 4,419 คน แยกเป็นชาย 2,241 คน หญิง 2,178 คน ความหนาแน่นเฉลี่ย 151.34 คน/ตารางกิโลเมตร |
|
|
ตารางแสดงจำนวนประชากรของตำบลหันนางาม |
|
|
หมู่ที่
|
หมู่บ้าน
|
จำนวนประชากร (คน)
|
ชาย
|
หญิง
|
รวม
|
1 2 3 4 5 6 7 8
|
บ้านศรีประเสริฐ บ้านโปร่งแจ้ง บ้านห้วยกวางทอง บ้านสวนสวรรค์ บ้านนาดี บ้านโนนข่า บ้านหันนางาม บ้านเหล่าใหญ่
|
299 256 161 160 286 407 362 310
|
294 250 156 155 276 372 365 310
|
593 506 317 315 562 779 727 620
|
|
รวม
|
2,241
|
2,178
|
4,419
|
|
|
จำนวนครัวเรือน |
|
|
|
ตารางแสดงจำนวนครัวเรือนของตำบลหันนางาม |
|
|
หมู่ที่
|
ชื่อหมู่บ้าน
|
จำนวนครัวเรือน
|
1 2 3 4 5 6 7 8
|
บ้านศรีประเสริฐ บ้านโปร่งแจ้ง บ้านห้วยกวางทอง บ้านสวนสวรรค์ บ้านนาดี บ้านโนนข่า บ้านหันนางาม บ้านเหล่าใหญ่
|
156 127 81 144 212 233 187 132
|
|
รวม
|
1,272 ครัวเรือน
|
|
|
|
|